วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ เม.ย. 57

ตัวอย่างศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย

เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ



1. นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์

นโยบาย
            เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งก่อสร้างในอดีตที่มีคุณค่าของไทยในยุคสมัยต่างๆ ในภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย อาทิ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน



วิสัยทัศน์
            การรวบรวมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองโบราณในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้นั้น ทางเมืองโบราณได้มุ่งเน้นถึงงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของยุคสมัยต่างๆ ที่มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของการเพาะบ่มทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน บางยุคสมัยก็มีการคาบเกี่ยวกัน ในช่วงมิติของเวลา การพัฒนาการความเป็นบ้านเมืองในช่วงที่ไล่เลี่ยกัน การแสดงออกถึงขีดแห่งความเจริญ ซึ่งมีความต่างกัน ในช่วงเวลาขึ้นอยู่ที่ว่าชุมชน ใดเข้มแข็งกว่า และพัฒนาเร็วกว่าก็จะแสดงความรุ่งเรืองเหนือชุมชนอื่นๆออกมาก่อน แต่เมื่อใดก็ตามที่ชุมชนที่เจริญอยู่ เกิดมีความเสื่อมถอย ชุมชนที่เริ่มพัฒนา ขึ้นมาก็จะแสดงความรุ่งเรือง ของตนเองออกมาแทนที่ทันที ดังนั้นจึงกล่าวถึงช่วงสมัยต่างๆ ตามความรุ่งเรืองที่ปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดนับเริ่มตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงรัตนโกสินทร์

กลุ่มเป้าหมาย
            บุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ



2. แหล่งที่มาของศูนย์

     พ.ศ. 2506 เริ่มก่อสร้างเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยนายเล็ก วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย  เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 


3. แผนการดำเนินงาน

            1) เพื่อเผยแพร่ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย ที่จะเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ
            2) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของอารยธรรมไทยในอดีตที่มีผลสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
            3) เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
           

แหล่งอ้างอิง : www.AncientCity.com. (2550). เมืองโบราณ Ancientcity. เข้าถึงได้จาก http://www.ancientcity.com/   
(วันที่สืบค้นข้อมูล 2 เมษายน 2557).


แผนผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรณ์การเรียนรู้

  • ตัวอย่าง 1  โครงสร้างศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ



 1.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
        ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2555). เกี่ยวกับศูนย์.โครงสร้าง. เข้าถึงได้จาก : http://co-op.neu.ac.th/aboutus/structure (วันที่ค้นหาข้อมูล :2 เมษายน 2557)

2.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด

       โครงสร้างศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโครงสร้างประเภท Line Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบตามที่ละลำดับขั้น จากระดับขั้นสูงสุดถึงระดับขั้นต่ำสุด

  • ตัวอย่าง 2  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


1.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
        สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2555). โครงสร้างการบริหาร. เข้าถึงได้จาก : http://www.library.kku.ac.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=7&Itemid=40 (วันที่ค้นหาข้อมูล :24 มิถุนายน 2556)

2.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด
        โครงสร้างศูนย์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประเภท Line And Staff Organization เพราะสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ผู้บริหารคนเดียวจึงไม่สามารถดำเนินการได้ จึงได้มีรูปแบบของคณะกรรมการต่างๆ เข้ามาเป็นผู้ช่ยควบคุมการทำงาน โดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินงานนั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น