วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนคิด 21 เม.ย. 2557

2.1 การจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร 
ตอบ หมายถึง การนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาจัดแยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่างกว้าง ๆ โดยหนังสือที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันจัดเอาไว้ด้วยกัน  เนื้อหาใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน  รวมถึงหนังสือที่มีลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกัน จัดกลุ่มไว้ด้วยกัน มีประโยชน์ ได้แก่


  • เพื่อวิเคราะห์พิจารณาแยกและหนังสือตามเนื้อหาวิชาให้เป็นระบบ
  • เพื่อสะดวกในการจัดเรียงและค้นหาข้อมูล
  • เพื่อให้ทราบสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน
  • เพื่อควบคุมทรัพยากรสารสนเทศให้สมดุลในสาขาวิชาต่าง ๆ
  • เพื่อสะดวกในการให้บริการ 

2.2 จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้ 
ตอบ  ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่างๆ

1.  หมวดใหญ่ : การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสาระเนื้อหา กลุ่มวิชา 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
  • 000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)   
  • 100 ปรัชญา (Philosophy)   
  • 200 ศาสนา (Religion)   
  • 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences)   
  • 400 ภาษาศาสตร์ (Language)   
  • 500 วิทยาศาสตร์ (Science)   
  • 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)   
  • 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)  
  • 800 วรรณคดี (Literature)   
  • 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)
2. หมวดย่อย : การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 2 แบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย ตกยัวอย่างเช่น หมวด 000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities) ซึ่งมีหน่วยย่อยดังนี้
  • 000 คอมพิวเตอร์ ความรู้ทั่วไป
  • 010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก
  • 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
  • 030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
  • 040 ยังไม่กำหนดใช้
  • 050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี
  • 060 องค์การต่างๆ พิพิธภัณฑวิทยา
  • 070 วารสารศาสตร์ การพิมพ์
  • 080 ชุมนุมนิพนธ์
  • 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก 

2.3 จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน 
ตอบ   ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน: Library of Congress Classification  (LC) เป็นระบบของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบจากทั่วโลกกว่า  460 ภาษา  โดยแบ่งมี 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร   A-Z  ยกเว้น  I  O  W   X  Y แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 - 9999 แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม
1. หมวดใหญ่ (Main Classes) มี 21 หมวด คือ
  • A = เรื่องทั่วไป
  • B = ปรัชญา ศาสนา
  • C = ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
  • D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป / โลกเก่า
  • E-F= ประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกา
  • G = ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ
  • H=  สังคมศาสตร์
  • J = รัฐศาสตร์
  • K= กฎหมาย
  • L = การศึกษา
  • M = ดนตรี
  • N = ศิลปะ
  • P = ภาษาและวรรณคดี
  • Q = วิทยาศาสตร์
  • R = การแพทย์
  • S = การเกษตร
  • T = เทคโนโลยี
  • U = วิทยาศาสตร์การทหาร
  • V = นาวิกศาสตร์
  • Z = บรรณารักษศาสตร์
2. หมวดย่อย (Sub Classes) : เป็นการแบ่งย่อยจากหมวดใหญ่ (main classes)ใช้อักษรภาษาอังกฤษ 2-3 ตัว ซึ่งแต่ละหมวดอาจแบ่งหมวดย่อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหา เช่น หมวด H สังคมศาสตร์
  • HC = สถิติ
  • HB = เศรษฐศาสตร์
  • HC = ประวัติสภาวะทางเศรษฐกิจ
  • HE = การขนส่งและการคมนาคม
3. เนื้อเรื่องย่อยของหนังสือ (subdivision / subject) : เป็นการแบ่งเนื้อหาในหมวดย่อย (sub classes) ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นโดยใช้เลข     1-9999 เติมหลังหมวดย่อย และอาจใช้จุดทศนิยม เลขคัตเตอร์หมู่ หรือตารางประเภทต่าง ๆ ในการกระจายเนื้อหาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
Q                     Sciences (general)
300-385          Cybernetics. Information theory
QA                  Mathematics
9-10                 Mathematical Logic
76                    Computer sciences. Electronics data processing
101-141           Elementary mathematics. Arithmetic
150-274           Algebra

ตัวอย่างเลขหมู่ระบบ LC



2.4 จงอธิบายหมวดหมู่ในการจัดเก็บสื่อโสตทัศน์ 
ตอบ โสตทัศนวัสดุกำหนดสัญลักษณ์ตามประเภทของวัสดุที่ใช้บันทึก เช่น                              
1)  แผนที่                                MA (MAP)                                      
2)  ภาพ                                   PIC (Picture)
3)  ภาพโปสเตอร์                    PR (poster)

4)  ภาพยนตร์                          F (Film)                        
5)  ภาพนิ่ง                               S  (Slide)                     
6)  ภาพเลื่อน                           FS (Filmstrip)                     
7)  แผ่นโปร่งใส                       TR  (Transpsarency)                      
8)  แถบบันทึกเสียง                  CT  (Cassettetape)
9)  วีดิทัศน์                               VC  (Videotape)                      
10)  ไมโครฟิล์ม                       MIC  (Microfilm)                      
11)  แผ่นเสียง                          PD (Phonodise)                     
12)  ซีดี-รอม                            CD (CD-ROM)                     
13)  วิดีโอคอมแพคดิสก์          VCD                     
14)  ดิจิทัลวิดีโอดิสก์               DVD 


2.5 ถ้านิสิตสืบค้นทรัพยากรการเรียนรู้ และพบที่สันหนังสือมีเลข 
371.33 อ 834 ท แสดงว่าตัวเลขหมวดหมู่ดังกล่าวมี ความหมายว่าอะไร จงอธิบาย
ตอบ  371.33 อ 834 ท มีความหมายว่า
              371       คือ เลข 3 เป็นเลขหลักร้อย 300 ในหมวดใหญ่ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
              .33        คือ เลข 3 เป็นเลขหลักสิบ 030 ในหมวดย่อย หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
              ตัว อ.    คือ ตัวอักษรแรกของชื่อผู้แต่ง
              834       คือ เลขผู้แต่งหนังสือ
              ตัว ท.    คือ อักษรตักแรกของชื่อหนังสือ

2.6 หมวดหมู่ของระบบอเมริกันและระบบดิวอี้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ ได้แก่ หมวดใหญ่และหมวดย่อย ส่วนระบบของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันจะแบ่งหมวดเป็น 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร A-Z ยกเว้น I O W X Y แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 – 9999 แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม


2.7 จงอธิบายประโยชน์ของการเสริมปกอ่อนให้เป็นปกแข็ง
ตอบ      1. ต้นทุนต่ำประหยัดงบประมาณ โดยเฉลี่ยประมาณ 5 บาทต่อเล่ม
              2. มีวิธีการขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 

              3. มีขั้นตอนในการท าที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประมาณ 5 นาทีต่อเล่ม
              4. รูปเล่มมีความคงทนแข็งแรงในการให้บริการ 
              5. รูปเล่มสามารถทรงตัวอยู่บนชั้นหนังสือได้ โดยปกไม่ช ารุดเสียหาย
              6. มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
              7. สามารถรักษาโครงสร้างรูปร่างของหนังสือได้อย่างสมบูรณ


2.8 ไม้เนียน คืออะไร มีปรโยชน์อย่างไรในการเสริมปก
ตอบ  ไม้เนียน คือ ไม้ที่มีลักษณะแบนราบ และเรียบ
          ประโยชน์ คือ ใช้รีดสิ่งประดิษฐ์ให้มีความเรียบเนียน และติดทน (กรณีใช้กาว)



2.9 วัสดุอุปกรณ์ในการเสริมปกมีอะไรบ้าง
ตอบ   1. กาวลาเท็กซ์ เช่น TOA
          2. กระดาษแข็งหรือกระดาษปกเบอร์ 12 หรือมีความหนาประมาณ .050นิ้ว

          3. ผ้าฝ้าย (100% Cotton)
          4. มีดคัตเตอร์
          5. กรรไกร
          6. แผ่นพลาสติกตัดเพื่อไม่ให้โดนโต๊ะ
          7. ไม้กระดานแผ่นเรียบ
          8. แปรงทากาว
          9. แท่นน้ำหนัก
        10. ไม้เนียน
        11. เครื่องเจียนกระดาษ (ถ้ามี) 
        อื่น ๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด


2.10 จงอธิบายความสาคัญของงบประมาณ
ตอบ 
1. ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารทำห้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด  เช่น รายสัปดาห์รายเดือน รายไตรมาส หรือ รายปี

3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี 


2.11 ปีงบประมาณของส่วนภาครัฐ และเอกชนต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ งบประมาณประจำปีของเอกชน เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 
ส่วน ของภาครัฐจะเริ่มปีงบประมาณในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดปีงบประมาณในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป


2.12 จงอธิบายความหมายงบประมาณสมดุล เกินดุล และขาดดุล
ตอบ     1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้ราย                     จ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
             2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้ราย                   จ่ายประจำปีต่ำกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจ                   พอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
             3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy) หมายถึง การกำหนดให้มีการจัดทำงบ                 ประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือ                   นำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว


2.13 หมวดงบประมาณประกอบด้วยกี่หมวดอะไรบ้าง
ตอบ  ประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จ าแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
              (1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจ า
              (2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
              (3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
              (4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
              (5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
              (6) หมวดเงินอุดหนุน
              (7) หมวดรายจ่ายอื่น


2.14 จงอธิบายความหมาย “ค่าวัสดุ” และ "ค่าครุภัณฑ์"
ตอบ   “ค่าวัสดุ” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
          1.1 สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิมอีกต่อไป หรือ
          1.2 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานมในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี หรือ
          1.3 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท ยกเว้น สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์หรือ
          1.4 สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิมหมวดงบ

          “ค่าครุภัณฑ์” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ในสิ่งของดังต่อไปนี้
           1.1 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน 5,000 บาทหรือ
           1.2 สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1 เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรกให้หมายความรวมถึงค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาเพื่อ
ดำเนินการเอง
3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายคาครุภัณฑ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น