วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนคิด 21 เม.ย. 2557

2.1 การจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร 
ตอบ หมายถึง การนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาจัดแยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่างกว้าง ๆ โดยหนังสือที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันจัดเอาไว้ด้วยกัน  เนื้อหาใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน  รวมถึงหนังสือที่มีลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกัน จัดกลุ่มไว้ด้วยกัน มีประโยชน์ ได้แก่


  • เพื่อวิเคราะห์พิจารณาแยกและหนังสือตามเนื้อหาวิชาให้เป็นระบบ
  • เพื่อสะดวกในการจัดเรียงและค้นหาข้อมูล
  • เพื่อให้ทราบสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน
  • เพื่อควบคุมทรัพยากรสารสนเทศให้สมดุลในสาขาวิชาต่าง ๆ
  • เพื่อสะดวกในการให้บริการ 

2.2 จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้ 
ตอบ  ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่างๆ

1.  หมวดใหญ่ : การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสาระเนื้อหา กลุ่มวิชา 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
  • 000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)   
  • 100 ปรัชญา (Philosophy)   
  • 200 ศาสนา (Religion)   
  • 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences)   
  • 400 ภาษาศาสตร์ (Language)   
  • 500 วิทยาศาสตร์ (Science)   
  • 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)   
  • 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)  
  • 800 วรรณคดี (Literature)   
  • 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)
2. หมวดย่อย : การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 2 แบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย ตกยัวอย่างเช่น หมวด 000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities) ซึ่งมีหน่วยย่อยดังนี้
  • 000 คอมพิวเตอร์ ความรู้ทั่วไป
  • 010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก
  • 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
  • 030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
  • 040 ยังไม่กำหนดใช้
  • 050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี
  • 060 องค์การต่างๆ พิพิธภัณฑวิทยา
  • 070 วารสารศาสตร์ การพิมพ์
  • 080 ชุมนุมนิพนธ์
  • 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก 

2.3 จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน 
ตอบ   ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน: Library of Congress Classification  (LC) เป็นระบบของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบจากทั่วโลกกว่า  460 ภาษา  โดยแบ่งมี 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร   A-Z  ยกเว้น  I  O  W   X  Y แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 - 9999 แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม
1. หมวดใหญ่ (Main Classes) มี 21 หมวด คือ
  • A = เรื่องทั่วไป
  • B = ปรัชญา ศาสนา
  • C = ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
  • D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป / โลกเก่า
  • E-F= ประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกา
  • G = ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ
  • H=  สังคมศาสตร์
  • J = รัฐศาสตร์
  • K= กฎหมาย
  • L = การศึกษา
  • M = ดนตรี
  • N = ศิลปะ
  • P = ภาษาและวรรณคดี
  • Q = วิทยาศาสตร์
  • R = การแพทย์
  • S = การเกษตร
  • T = เทคโนโลยี
  • U = วิทยาศาสตร์การทหาร
  • V = นาวิกศาสตร์
  • Z = บรรณารักษศาสตร์
2. หมวดย่อย (Sub Classes) : เป็นการแบ่งย่อยจากหมวดใหญ่ (main classes)ใช้อักษรภาษาอังกฤษ 2-3 ตัว ซึ่งแต่ละหมวดอาจแบ่งหมวดย่อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหา เช่น หมวด H สังคมศาสตร์
  • HC = สถิติ
  • HB = เศรษฐศาสตร์
  • HC = ประวัติสภาวะทางเศรษฐกิจ
  • HE = การขนส่งและการคมนาคม
3. เนื้อเรื่องย่อยของหนังสือ (subdivision / subject) : เป็นการแบ่งเนื้อหาในหมวดย่อย (sub classes) ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นโดยใช้เลข     1-9999 เติมหลังหมวดย่อย และอาจใช้จุดทศนิยม เลขคัตเตอร์หมู่ หรือตารางประเภทต่าง ๆ ในการกระจายเนื้อหาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
Q                     Sciences (general)
300-385          Cybernetics. Information theory
QA                  Mathematics
9-10                 Mathematical Logic
76                    Computer sciences. Electronics data processing
101-141           Elementary mathematics. Arithmetic
150-274           Algebra

ตัวอย่างเลขหมู่ระบบ LC



2.4 จงอธิบายหมวดหมู่ในการจัดเก็บสื่อโสตทัศน์ 
ตอบ โสตทัศนวัสดุกำหนดสัญลักษณ์ตามประเภทของวัสดุที่ใช้บันทึก เช่น                              
1)  แผนที่                                MA (MAP)                                      
2)  ภาพ                                   PIC (Picture)
3)  ภาพโปสเตอร์                    PR (poster)

4)  ภาพยนตร์                          F (Film)                        
5)  ภาพนิ่ง                               S  (Slide)                     
6)  ภาพเลื่อน                           FS (Filmstrip)                     
7)  แผ่นโปร่งใส                       TR  (Transpsarency)                      
8)  แถบบันทึกเสียง                  CT  (Cassettetape)
9)  วีดิทัศน์                               VC  (Videotape)                      
10)  ไมโครฟิล์ม                       MIC  (Microfilm)                      
11)  แผ่นเสียง                          PD (Phonodise)                     
12)  ซีดี-รอม                            CD (CD-ROM)                     
13)  วิดีโอคอมแพคดิสก์          VCD                     
14)  ดิจิทัลวิดีโอดิสก์               DVD 


2.5 ถ้านิสิตสืบค้นทรัพยากรการเรียนรู้ และพบที่สันหนังสือมีเลข 
371.33 อ 834 ท แสดงว่าตัวเลขหมวดหมู่ดังกล่าวมี ความหมายว่าอะไร จงอธิบาย
ตอบ  371.33 อ 834 ท มีความหมายว่า
              371       คือ เลข 3 เป็นเลขหลักร้อย 300 ในหมวดใหญ่ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
              .33        คือ เลข 3 เป็นเลขหลักสิบ 030 ในหมวดย่อย หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
              ตัว อ.    คือ ตัวอักษรแรกของชื่อผู้แต่ง
              834       คือ เลขผู้แต่งหนังสือ
              ตัว ท.    คือ อักษรตักแรกของชื่อหนังสือ

2.6 หมวดหมู่ของระบบอเมริกันและระบบดิวอี้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ ได้แก่ หมวดใหญ่และหมวดย่อย ส่วนระบบของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันจะแบ่งหมวดเป็น 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร A-Z ยกเว้น I O W X Y แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 – 9999 แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม


2.7 จงอธิบายประโยชน์ของการเสริมปกอ่อนให้เป็นปกแข็ง
ตอบ      1. ต้นทุนต่ำประหยัดงบประมาณ โดยเฉลี่ยประมาณ 5 บาทต่อเล่ม
              2. มีวิธีการขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 

              3. มีขั้นตอนในการท าที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประมาณ 5 นาทีต่อเล่ม
              4. รูปเล่มมีความคงทนแข็งแรงในการให้บริการ 
              5. รูปเล่มสามารถทรงตัวอยู่บนชั้นหนังสือได้ โดยปกไม่ช ารุดเสียหาย
              6. มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
              7. สามารถรักษาโครงสร้างรูปร่างของหนังสือได้อย่างสมบูรณ


2.8 ไม้เนียน คืออะไร มีปรโยชน์อย่างไรในการเสริมปก
ตอบ  ไม้เนียน คือ ไม้ที่มีลักษณะแบนราบ และเรียบ
          ประโยชน์ คือ ใช้รีดสิ่งประดิษฐ์ให้มีความเรียบเนียน และติดทน (กรณีใช้กาว)



2.9 วัสดุอุปกรณ์ในการเสริมปกมีอะไรบ้าง
ตอบ   1. กาวลาเท็กซ์ เช่น TOA
          2. กระดาษแข็งหรือกระดาษปกเบอร์ 12 หรือมีความหนาประมาณ .050นิ้ว

          3. ผ้าฝ้าย (100% Cotton)
          4. มีดคัตเตอร์
          5. กรรไกร
          6. แผ่นพลาสติกตัดเพื่อไม่ให้โดนโต๊ะ
          7. ไม้กระดานแผ่นเรียบ
          8. แปรงทากาว
          9. แท่นน้ำหนัก
        10. ไม้เนียน
        11. เครื่องเจียนกระดาษ (ถ้ามี) 
        อื่น ๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด


2.10 จงอธิบายความสาคัญของงบประมาณ
ตอบ 
1. ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารทำห้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด  เช่น รายสัปดาห์รายเดือน รายไตรมาส หรือ รายปี

3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี 


2.11 ปีงบประมาณของส่วนภาครัฐ และเอกชนต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ งบประมาณประจำปีของเอกชน เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 
ส่วน ของภาครัฐจะเริ่มปีงบประมาณในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดปีงบประมาณในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป


2.12 จงอธิบายความหมายงบประมาณสมดุล เกินดุล และขาดดุล
ตอบ     1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้ราย                     จ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
             2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้ราย                   จ่ายประจำปีต่ำกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจ                   พอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
             3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy) หมายถึง การกำหนดให้มีการจัดทำงบ                 ประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือ                   นำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว


2.13 หมวดงบประมาณประกอบด้วยกี่หมวดอะไรบ้าง
ตอบ  ประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จ าแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
              (1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจ า
              (2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
              (3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
              (4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
              (5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
              (6) หมวดเงินอุดหนุน
              (7) หมวดรายจ่ายอื่น


2.14 จงอธิบายความหมาย “ค่าวัสดุ” และ "ค่าครุภัณฑ์"
ตอบ   “ค่าวัสดุ” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
          1.1 สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิมอีกต่อไป หรือ
          1.2 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานมในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี หรือ
          1.3 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท ยกเว้น สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์หรือ
          1.4 สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิมหมวดงบ

          “ค่าครุภัณฑ์” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ในสิ่งของดังต่อไปนี้
           1.1 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน 5,000 บาทหรือ
           1.2 สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1 เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรกให้หมายความรวมถึงค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาเพื่อ
ดำเนินการเอง
3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายคาครุภัณฑ์

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรม 8-11 เม.ย.57

1. สิ่งสาคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ    สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงาน มีดังนี้
                 1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
                 2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
                 3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทาไว้ดี
                 4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
                 5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม

2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ   เทคนิคการประสานงาน ประกอบด้วย
                 1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                 2.การกำหนด อำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
                 3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
                 4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
                 5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
                 6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
                 7.การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ    อุปสรรคของการประสาน
                 -ถ้าการขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี ย่อมทำให้เกิดความไม่เข้าใจที่ตรงกัน และจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน
                 -ถ้าการขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ งานนั้นอาจไม่มีการดำเนินงาน หรือดำเนินงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ความคิดเห็นไม่ตรงกัน อาจเกิดการทะเลาะมีปัญหา โดยไม่มีผู้ตัดสินใจหรือคำสั่งที่เด็ดขาด
                 -ถ้าการปฏิบัติงานไม่มีแผน จะเกิดการทำงานที่ไม่เป็นระบบ เกิดการซับซ้อน ทำให้ผู้ร่วมงานไม่ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงานที่แท้จริง
                 -ถ้าการขาดความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน จะเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ งานไม่สามารถดำเนินการได้ดี

4. คำถามเพิ่มเติม : นิสิตยกตัวอย่างการประสานอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มาคนละ 2 วิธีการในการประสานงาน
ตอบ  การประสานงานอย่างเป็นทางการ ตัวอย่างเช่น


1. การประสานงานในองค์กร



2.การประสานงานความร่วมมือของส่วนราชการ

การประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ ตัวอย่างเช่น


 1. จัดงานเลี้ยงปีใหม่

 2.การประสานงานภายในทีม


5. การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไรต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ   การรายงานผลมีความสำคัญต่อกาจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ในเรื่องของการแสดงข้อมูลที่ผ่านการรวบรวม วิเคราะห์ต่างๆที่เป็นกระบวนการในการประมวลผล ออกมาในรูปของการนำเสนอเป็นรายงานผล ให้กับผู้บริหารหรือสาธารณชน ได้รับทราบผลการการดำเนินงาน ที่ผ่านมาและนำไปเป็นแนวการปรับปรุงพัฒนาให้ดีครั้งต่อไป

6. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร

ตอบ   เป็นประเภทสื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกความรู้ ความคิดของมนุษย์นำมารวบรวมเป็นเล่ม ให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าและใช้อ้างอิง
          เรียกว่าเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ คือหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม ข่าวการศึกษา ข่าวกีฬา ข่าวธุรกิจ ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการและ สาระน่ารู้ เป็นต้น

7. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไร ในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว

ตอบ   หลักการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์ มีดังนี้
- กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์ให้ชัดเจน
- ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
- เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
- เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
- สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
- มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
- ราคาไม่แพงเกินไป  
- ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

8. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง

ตอบ   การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มี 4 วิธีการ ดังนี้
1) สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
2) สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจำหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
3) เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
4) จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

9. จากตัวอย่างสาระของ Weblink แนะนำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 4 มหาวิทยาลัย จงอธิบายถึงภารกิจหน้าที่ในการให้บริการมีอะไรบ้าง

ตอบ
      ภารกิจหน้าที่ของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ สนับสนุนการจัดการศึกษา ผลิตสื่อการเรียนการสอน จัดและผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ควบคุมการออกอากาศโทรทัศน์ภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นศูนย์กลางการควบคุมระบบเครือข่ายการเรียนการสอนทางไกล วีดีโอ Conference 10 ช่องสัญญาณ ระหว่างมหาวิทยาลัยและสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดต่างๆ 23 สาขาทั่วประเทศ โดยสำนักการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษาได้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน IOS9001 : 2008 ได้แก่ 1.งานบริหารและธุรการ 2.งานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทางไกล 3.งานจัดและผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา 4.งานบริการโสตทัศนศึกษา 5.งานบริการสื่อการศึกษา
          แหล่งอ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=h0IYs-39shU

          ภารกิจหน้าที่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ บริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้บริการทั้งนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก มีการจัดการบริการอย่างเป็นระบบ มีหนังสือมากมายหลายประเภท รวมถึงมุมที่ใช้อ่านหนังสือ อีกทั้งยังมีการจัดอบรมคอมพิวเตอร์ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมสารานิเทศตลอดภาคการศึกษา สามารถสมัครเข้าอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีบริการดีๆ อย่างอื่นเช่น บริการสื่อเกี่ยวกับภาคเหนือ ห้อง mini home theater เป็นต้น
          อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=kRJNiJrAUD0

        ภารกิจหน้าที่ของสำนักหอสมุดกลาง หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร คือ ให้บริการยืม-คืนหนังสือที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และค่อนข้างมีระยะเวลานาน มีทั้งภาษไทยและภาษาต่างประเทศ โดยมีการแบ่งประเภทหนังสือตามรายวิชาหรือตามคณะ และที่สะดวกสุดๆ ก็คือ การบริการยืมหนังสือด้วยตัวเอง
          อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=13FWsyzDvTM

        ภารกิจหน้าที่ของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย”คือ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านศาสตร์และศิลป์ และแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัย เป็นความรู้นอกตำราที่จับต้องได้ โดยนำข้อมูลเบื้องต้นในลักษณะ Introduction หากท่านสนใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ของจุฬาฯ โดยแนะนำอย่างทันสมัย และแบ่งตามคณะ เช่น แพทย์ เภสัชศาสตร์ เทคโนโลยีต่าง ๆ พืชพันธ์นานชนิด ธรณีวิทยา การแสดงดนตรีไทย เป็นต้น
          อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=sl7SgYA6JDI

        ภารกิจหน้าที่ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา คือ มีบริการต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นแต่ละฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบงานด้านการบริหาร งานธุรการการเงิน งานคลัง งานพัสดุ งานนโยบายและแผน และงานประกันคุณภาพ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ทำหน้าที่  ให้บริการโสตทัศนูอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน บริการห้องเรียน การผลิตสื่อต่าง ๆ ตลอดจนงานศิลปกรรม ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่  ให้บริการการควบคุมดูแลและบำรุงรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ตลอดจนจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งจัดวางระบบสารสนเทศ ภายในมหาวิทยาลัยฝ่ายห้องสมุด ทำหน้าที่ สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ฝ่ายซ่อมบำรุง ทำหน้าที่ รับผิดชอบซ่อมแซม บำรุงรักษา ติดตั้งและปรับปรุงระบบไฟฟ้า ตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการซ่อมแซมคุรุภัณฑ์การเรียน เช่น โต๊ะ เก้าอี้

          อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=s5ZI57Rd9tU

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) [นักวิชาการโสตทัศนศึกษา]

1. นักวิชาการโสตทัศนศึกษามีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอะไรบ้าง
ตอบ
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา โสตทัศนศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวารสารศาสตร์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน หรือสาขาวิชา เวชนิทัศน์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขาวิชา
 2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา โสตทัศนศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวารสารศาสตร์ หรือสาขาวิชาสื่อสารมวลชน หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขาวิชาดังกล่าว ในทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือสาขาวิชาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับชำนาญการ
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับปฏิบัติการ และ
2. เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 หรือข้อ 3 ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่เทียบได้ ไม่ต่ำกว่านี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานวิชาการโสตทัศนศึกษา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับชำนาญการพิเศษ
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับปฏิบัติการ และ
2. เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานวิชาการโสตทัศนศึกษา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี


2. ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษามีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ      มี 7 ระดับ
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 3                                ระดับ 3
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 4                                ระดับ 4
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 5                                ระดับ 5
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 6                                ระดับ 6
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 7                                ระดับ 7
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 8                                ระดับ 8
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 9                                ระดับ 9

3. ให้นิสิตยกตัวอย่าง การประกาศรับสมัครงานที่รับตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ว่าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร พร้อมแหล่งอ้างอิง URL
ตอบ
รายละเอียดประกาศรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ชื่อตำแหน่ง         นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
ปฏิบัติงานที่         งานการศึกษาระดับหลังปริญญา สำนักงานคณบดี  จำนวน 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน      17,290.00 บาท
กำหนดวันรับสมัคร    ตั้งแต่  วันที่ 28  มกราคม  2557 ถึงวันที่ 17  กุมภาพันธ์  2557
ลักษณะของตำแหน่งงาน
         เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฝึกอบรมทักษะทางหัตถการทางการแพทย์ศิริราช ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการ ควบคุมดูแลระบบโสตทัศนูปกรณ์ ถ่ายภาพนิ่งและวิดีทัศน์งานฝึกอบรมของศูนย์ฯ บันทึกและตัดต่อวิดีทัศน์ รวบรวมจัดเก็บและเผยแพร่สื่อการสอน (e-Learning) ปรับปรุงเว็บไซต์ ทำหน้าที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเขียนสถานการณ์จำลองเพื่อควบคุมหุ่น จัดเก็บ ดูแล จัดทำแผนบำรุงรักษาหุ่นจำลองทางการแพทย์ขั้นสูง ประสานงานและติดตามการซ่อมบำรุงให้มีสภาพพร้อมใช้

คุณสมบัติสำหรับตำแหน่งที่เปิดรับ
  1. ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี  เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์, สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา / วิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาเวชนิทัศน์ / วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต / อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต / ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, สาขาอิเล็กทรอนิกส์ / ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร / นิเทศศาสตรบัณฑิต /วิทยุโทรทัศน์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  2. ไม่จำกัดเพศ (หากเป็นเพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วหรือได้รับการยกเว้น กรุณาแนบ สด.8 หรือ สด.43 มาด้วย)
  3. อายุไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์นับถึงวันรับสมัคร
  4. หากมีหนังสือรับรองการผ่านงานด้านระบบโสตทัศนศึกษาหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับตำแหน่ง และมีประสบการณ์ด้านระบบโสตทัศนูปกรณ์ในการศึกษาจะพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น การถ่ายทอดสดระบบ Teleconferencing ไปยังต่างประเทศ
  5. เป็นผู้ไม่บกพร่องในศีลธรรม จริยธรรมอันดี
แหล่งอ้างอิง E-Application สมัครงานออนไลน์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/jobs/viewjobdetail.asp?job_ID=C57/15 
(วันที่สืบค้นข้อมูล 7 เมษายน 2557).

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ Directing

1. การอำนวยการมีบทบาทในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร 
ตอบ   การอำนวยการ คือ การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอานาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบริหารงจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ดำเนินอย่างเป็นไปตามวัถุประสงค์ที่ตั้งไว้

2. รูปแบบของการตัดสินใจมีกี่ประเภท

ตอบ  มี2ประเภท ได้แก่
             1.การตัดสินใจโดยบุคคลคนเดียว
             2.การติดสินใจโดยกลุ่ม แบ่งเป็น 3 วิธี
                    2.1 สมาชิกเพียงเสนอข้อคิดเห็น ผู้บริหารตัดสินใจขั้นสุดท้าย
                    2.2 ตัดสินใจโดยได้ข้อยุติเชิงเสียงข้างมาก Majority
                    2.3 ตัดสินใจโยดได้ข้อยุติเป็นเอกฉันท์ Consensus

3. ลักษณะของการอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
ตอบ           • ต้องชัดเจน
                  • ให้คาสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
                  • ถ้าผู้รับคาสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
                  • ใช้นาเสียงให้เป็นประโยชน์
                  • วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
                  • ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
                  • ลดคำสั่งที่มีลักษณะ “ห้าม” การกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
                  • อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
                  • ต้องแน่ใจว่าการออกคำสั่งหลาย ๆ คาสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
                  • ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคำสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคำสั่ง

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ Staffing

1. หลักในการจัดคนเข้าทำงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
           1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
               1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
               1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
               1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
               1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
          2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ



2. การสรรหา คัดเลือกเพื่อบรรจุแต่งตั้ง มีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ   1.การสรรหา อาจดำเนินการได้ดังนี้
              1.1 ติดต่อสถาบันการศึกษาโดยตรง
              1.2 เปิดรับสมัครตลอดปี
              1.3 ติดต่อกองจัดหางาน กรมแรงงาน ตลาดนัดแรงงาน
              1.4 ลงประกาศในสื่อสารมวลชน
              1.5 ติดต่อ ก.พ.
              1.6 ติดต่อเป็นการส่วนตัว (เฉพาะตาแหน่งสำคัญ ๆ)
          2. การคัดเลือก อาจดำเนินการได้ดังนี้
              2.1 ประกาศรับสมัครสอบเข้า
              2.2 รับสมัครตลอดปี
              2.3 คัดเลือกจากนักเรียนนักศึกษาที่เคยมาฝึกงาน
              2.4 คัดเลือกจากผู้ได้ทุนการศึกษา
              2.5 คัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ
          3. การบรรจุแต่งตั้ง เมื่อสรรหาและคัดเลือกแล้วก็บรรจุแต่งตั้งตามหลักการ Put the Right Man in the Right Job ต้องมีเงื่อนไขทดลองปฏิบัติการ 6 เดือนก่อนบรรจุ


3. บุคลากรด้านศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มีภารกิจที่สำคัญอะไรบ้าง
ตอบ     มีภารกิจที่สำคัญ ได้แก่

  • 1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สาหรับบริการ
  • 2. การผลิตสื่อเพื่อนามาใช้ในการเรียนการสอน
  • 3. การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทาทะเบียน
  • 4. การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
  • 5. การให้คาปรึกษา แนะนาการใช้และการผลิตสื่อ
  • 6. การวิจัยและพัฒนาสื่อ


4. ให้หาตัวอย่างภาระหน้าที่ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มา 3 ภาระหน้าที่พร้อมชื่อตำแหน่งงาน และอ้างอิง
ตอบ
ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ
          มีภาระหน้าที่ดำเนินการแสวงหา คัดเลือกจัดหาหนังสือ ตำรา เอกสาร ฐานข้อมูล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้สอดคล้องกับแผนหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และวิเคราะห์และจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท จัดทำเครื่องมือช่วยค้นที่ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว และมีมาตรฐาน ตลอดจนดูแลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพดี โดยแบ่งเป็น 3 งาน ได้แก่


1.งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  มีภาระหน้าที่ประกอบด้วย


  • 1. คัดเลือกหนังสือ/สื่อโสตทัศน์
  • 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบราคาหนังสือ/สื่อโสตทัศน์ เพื่อขอจัดซื้อ/จัดจ้าง
  • 3. ประสานงานกับอาจารย์แต่ละสำนักวิชาในการสั่งซื้อหนังสือ/สื่อโสตทัศน์
  • 4. จัดหา ขออภินันทนาการ และแลกเปลี่ยนหนังสือ
  • 5. รวบรวมรายชื่อหนังสือใหม่รายเดือน
  • 6. การตรวจรับหนังสือ และใบสำคัญต่าง ๆ 
  • 7. ทวงถามหนังสือ
  • 8. บันทึกลงทะเบียนหนังสือในฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
  • 9. พิจารณาการจำหน่ายออก
2.งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีภาระหน้าที่ประกอบด้วย

  • 1. วิเคราะห์หมวดหมู่และกำหนดหัวเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ และวัสดุสื่อการศึกษาลงใน Worksheet ตามรูปแบบ MARC  ในฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
  • 2. ตรวจสอบแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลทางบรรณานุกรม ของทรัพยากรสารสนเทศที่สืบค้นจากฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมอื่น 

3.งานอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศ มีภาระหน้าที่ประกอบด้วย

  • 1. บำรุงรักษา การอนุรักษ์ และซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งได้แก่  การเข้าปกหนังสือเป็นปกแข็ง การซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดเสียหาย 
  • 2. การอบหนังสือเพื่อป้องกันไม่ให้หนังสือชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุในการขึ้นรา 
  • 3. การเย็บเล่มหนังสือและวารสารฉบับย้อนหลัง


แหล่งอ้างอิง เข้าถึงได้จากqa.mfu.ac.th/QADep/mfuqa/SAR/sar_in_49/center/av1.doc
(วันที่สืบค้นข้อมูล 7 เมษายน 2557).

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ เม.ย. 57

ตัวอย่างศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย

เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ



1. นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์

นโยบาย
            เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งก่อสร้างในอดีตที่มีคุณค่าของไทยในยุคสมัยต่างๆ ในภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย อาทิ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน



วิสัยทัศน์
            การรวบรวมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองโบราณในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้นั้น ทางเมืองโบราณได้มุ่งเน้นถึงงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของยุคสมัยต่างๆ ที่มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของการเพาะบ่มทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน บางยุคสมัยก็มีการคาบเกี่ยวกัน ในช่วงมิติของเวลา การพัฒนาการความเป็นบ้านเมืองในช่วงที่ไล่เลี่ยกัน การแสดงออกถึงขีดแห่งความเจริญ ซึ่งมีความต่างกัน ในช่วงเวลาขึ้นอยู่ที่ว่าชุมชน ใดเข้มแข็งกว่า และพัฒนาเร็วกว่าก็จะแสดงความรุ่งเรืองเหนือชุมชนอื่นๆออกมาก่อน แต่เมื่อใดก็ตามที่ชุมชนที่เจริญอยู่ เกิดมีความเสื่อมถอย ชุมชนที่เริ่มพัฒนา ขึ้นมาก็จะแสดงความรุ่งเรือง ของตนเองออกมาแทนที่ทันที ดังนั้นจึงกล่าวถึงช่วงสมัยต่างๆ ตามความรุ่งเรืองที่ปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดนับเริ่มตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงรัตนโกสินทร์

กลุ่มเป้าหมาย
            บุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ



2. แหล่งที่มาของศูนย์

     พ.ศ. 2506 เริ่มก่อสร้างเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยนายเล็ก วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย  เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 


3. แผนการดำเนินงาน

            1) เพื่อเผยแพร่ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย ที่จะเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ
            2) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของอารยธรรมไทยในอดีตที่มีผลสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
            3) เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
           

แหล่งอ้างอิง : www.AncientCity.com. (2550). เมืองโบราณ Ancientcity. เข้าถึงได้จาก http://www.ancientcity.com/   
(วันที่สืบค้นข้อมูล 2 เมษายน 2557).


แผนผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรณ์การเรียนรู้

  • ตัวอย่าง 1  โครงสร้างศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ



 1.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
        ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2555). เกี่ยวกับศูนย์.โครงสร้าง. เข้าถึงได้จาก : http://co-op.neu.ac.th/aboutus/structure (วันที่ค้นหาข้อมูล :2 เมษายน 2557)

2.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด

       โครงสร้างศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโครงสร้างประเภท Line Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบตามที่ละลำดับขั้น จากระดับขั้นสูงสุดถึงระดับขั้นต่ำสุด

  • ตัวอย่าง 2  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


1.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
        สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2555). โครงสร้างการบริหาร. เข้าถึงได้จาก : http://www.library.kku.ac.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=7&Itemid=40 (วันที่ค้นหาข้อมูล :24 มิถุนายน 2556)

2.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด
        โครงสร้างศูนย์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประเภท Line And Staff Organization เพราะสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ผู้บริหารคนเดียวจึงไม่สามารถดำเนินการได้ จึงได้มีรูปแบบของคณะกรรมการต่างๆ เข้ามาเป็นผู้ช่ยควบคุมการทำงาน โดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินงานนั้นๆ

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่1

ข้อ1) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษา ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 3 ประเภท ได้แก่
1) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน
2) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต
          3) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อ2) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ แตกต่างกันตามระบบการศึกษา กล่าวคือ 
1.  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน
                มุ่งสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และมีการดำเนินการในหลายลักษณะ ทั้งศูนย์วัสดุการเรียนและศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด เป็นต้น

2.  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ
               มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

3.  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
               มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

ข้อ3) ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทละ 3 ศุนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้นๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง
ตอบ 
  • ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน


1.  ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
     สถานที่ตั้ง อาคารเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยบูรพา
     กลุ่มเป้าหมาย บุคคลากร นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคคลภายนอก     
     แหล่งอ้างอิง : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา. เข้าถึงได้จาก: http://www.car.chula.ac.th/aboutus/10/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).




2.  ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ : ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง 
     สถานที่ตั้ง : ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 
     กลุ่มเป้าหมาย : อาจารย์ นิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย
     แหล่งอ้างอิง : สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง. เข้าถึงได้จาก: http://www.car.chula.ac.th/aboutus/10/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).




3.  ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ : ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง 
     สถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
     กลุ่มเป้าหมาย : อาจารย์ นิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย
     แหล่งอ้างอิง : Blooger. (2555)ทัศนศึกษา ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา. เข้าถึงได้จากhttp://jirawan53040471.blogspot.com/2012/12/blog-post.html/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).


    • ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน


    1. ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ : ศูนย์ฝึกอาชีพสวนลุมพินี
        สถานที่ตั้ง :  สวนลุมพินี ติดที่จอดรถด้านใน ประตู 8 ใกล้ ถนนสารสิน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
        กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีงานทำ ผู้ที่มีเวลาว่างจากงานประจำ หรือผู้ที่ต้องการฝึกอบรมวิชาชี
        แหล่งอ้างอิง : ศูนย์ฝึกอาชีพสวนลุมพินี. (2554). ศูนย์ฝึกอาชีพสวนลุมพินี. เข้าถึงได้จาก: http://www.suanlumtrain.com/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).





    2. ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 ชลบุรี
        สถานที่ตั้ง 145 หมู่ 1 ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบรี 
        กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน  บุคคลทั่วไป
        แหล่งอ้างอิง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 ชลบุรีเข้าถึงได้จากhttp://www.tabunchon.com/  (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).






    3. ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หลวงพ่อทวีศักดิ์ ฯ)
        สถานที่ตั้ง  เลขที่ 38 หมู่ 4 ซอย เพชรเกษม 81 แขวงหนองแขม หนองแขม กรุงเทพมหานคร 10150
        กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่ต้องการฝึกอาชีพระยะสั้น
        แหล่งอ้างอิง โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หลวงพ่อทวีศักดิ์ ฯ). (2556). เข้าถึงได้จาก: http://www.luangpor.net/main/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).


    • ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย





    1. ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
        สถานที่ตั้ง  พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย 43/2 หมู่ 1 ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กม.31 ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120
        กลุ่มเป้าหมาย เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
        แหล่งอ้างอิง RoseNini. (2551). พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย. เข้าถึงได้จาก: http://www.rosenini.com/thaihumanimagery/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).




    2. ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
        สถานที่ตั้ง  235 หมู่ 7 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
        กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
        แหล่งอ้างอิง สวนสัตว์เปิดเขาเขียว. เข้าถึงได้จาก: http://www.kkopenzoo.com/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).



    3. ชื่อศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
        สถานที่ตั้ง เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
        กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
        แหล่งอ้างอิง มิวเซียมสยาม (Museum Siam) ,เข้าถึงได้จากwww.museumsiam.com/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 25 มีนาคม 2557).